โครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กับมหาวิทยาลัยคู่สัญญาในต่างประเทศ
ขั้นตอนการเตรียมตัวเป็นนักศึกษาแลกเปลี่ยนมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
เกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกประกอบไปด้วย |
นักศึกษาที่ได้ผ่านการคัดเลือก |
ค่าใช้จ่ายสำหรับการไปแลกเปลี่ยน |
Frequently asked questions |
ขั้นตอนการเตรียมตัวเป็นนักศึกษาแลกเปลี่ยนมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
1. ต้องศึกษาใน มธ ไม่น้อยกว่า 1 ปี
2. GPA ไม่ต่ำกว่า 2.8 สำหรับบางโครงการ หรือ 3.0 (เกณฑ์โดยทั่วไป)
3. การเตรียมผลคะแนนทางภาษาตามที่มหาวิทยาลัยคู่สัญญากำหนด
- ผลสอบภาษาอังกฤษ เช่น TOEFL IBT / PBT , IELTS
- ผลภาษาต่างประเทศ ตามที่มหาวิทยาลัยที่เป็น Host University กำหนด เช่น DELF , HSK , JLPT , RUSSIAN เป็นต้น
4. คิด/วางเป้าหมายไปประเทศใด / ไปมหาวิทยาลัยใด (ควรวางแผนไม่น้อยกว่า 6 เดือนก่อนการสมัคร)
5. ติดต่อกองวิเทศสัมพันธ์เพื่อการวางแผนการสมัคร ตรวจสอบรายละเอียดการรับสมัครแต่ละภูมิภาค เช่น เอเชีย ยุโรป อเมริกา เป็นต้น
6. ติดตามการประกาศรับสมัครของกองวิเทศสัมพันธ์
7. จัดทำ STUDY PLAN (แผนการศึกษาในต่างประเทศ) โดยเฉพาะการได้รับอนุมัติเรื่องวิชาที่ต้องการทำการโอน กลับมา โดยปรึกษากับคณะต้นสังกัด
8. ยื่นใบสมัครพร้อมเอกสารประกอบ ผ่านคณะต้นสังกัด เมื่อคณะรับรองใบสมัครและข้อมูลการสมัครแล้ว คณะ จะส่งใบสมัครมายังกองวิเทศสัมพันธ์
เกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกประกอบไปด้วย
- ความสามารถในการเป็นตัวแทนที่ดี มธ. /ประเทศไทย
- ความใจในตัวตน จิตวิญญาณ และความเป็นธรรมศาสตร์
- กิจกรรมที่ช่วยเหลือสังคม
- ความสามารถทางการสื่อสารและภาษา
- นักศึกษาจะได้รับการเสนอชื่อไปยังมหาวิทยาลัยคู่สัญญาในต่างประเทศ โดยที่มหาวิทยาลัยคู่สัญญาจะดำเนินการพิจารณาใบสมัครและพิจารณาการคัดเลือกนักศึกษาเข้าศึกษาเอง หากนักศึกษาได้รับการตอบรับจากมหาวิทยาลัยคู่สัญญา กองวิเทศสัมพันธ์จะแจ้งผลให้ทราบในทันที
- นักศึกษาที่ได้รับการคัดเลือก จะต้องชำระค่าธรรมเนียมการเข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนเข้ากองทุนแลกเปลี่ยนนักศึกษาของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยอัตราค่าธรรมเนียมคืออัตราค่าธรรมเนียมการศึกษาที่จ่ายปกติที่ มธ
ค่าใช้จ่ายสำหรับการไปแลกเปลี่ยน
1. ค่าธรรมเนียมการเข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยน
นักศึกษาที่ได้รับการคัดเลือกไปแลกเปลี่ยนจะต้องชำระค่าธรรมเนียมการเข้าร่วมโครงการ
แลกเปลี่ยน ซึ่ง ค่าธรรมเนียมจะเป็นอัตราเดียวกับอัตราค่าธรรมเนียมการศึกษาที่จ่ายปกติที่ มธ
2. ค่าใช้จ่ายในการไปแลกเปลี่ยน จะแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ
ส่วนแรก - ค่าใช้จ่ายก่อนไปแลกเปลี่ยน เช่น ค่าเดินทางระหว่างประเทศ ค่าตรวจร่างกาย ค่าทำประกันสุขภาพ+อุบัติเหตุ ค่าหนังสือเดินทาง ค่า Visa
ส่วนที่สอง - ค่าใช้จ่ายในต่างประเทศ เช่น ค่าอาหาร ค่าที่พัก ค่าเดินทาง ค่าหนังสือ ค่าสันทนาการต่างๆ แนะนำให้ตรวจสอบค่าใช้จ่ายได้จากเว็บไซด์ของมหาวิทยาลัยที่จะไปแลกเปลี่ยน
1. นักศึกษาแลกเปลี่ยนคือใคร ?
นักศึกษาแลกเปลี่ยนคือนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่ไปลงทะเบียนเรียนวิชา ต่างๆ ที่มหาวิทยาลัยคู่สัญญา ในต่างประเทศภายใต้เงื่อนไขข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการระหว่างมหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์และมหาวิทยาลัยคู่สัญญานั้นและนำรายวิชา/หน่วยกิตกลับมาเรียนที่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และในขณะเดียวกันมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ก็รับนักศึกษา ต่างชาติมาเรียนที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนภายใต้ เงื่อนไขเดียวกัน
2. ปฏิทินการรับสมัครนักศึกษาแลกเปลี่ยนคืออะไร ?
เป็นปฏิทินประจำปีที่แจ้งกำหนดการรับสมัครโครงการนักศึกษาแลกเปลี่ยนแต่ละ โครงการ/ประเทศว่าจะเปิดรับสมัครเดือนอะไร เพื่อให้นักศึกษาได้วางแผนการเรียนและเตรียมตัวให้พร้อมมากที่สุด
3. สามารถค้นหาข้อมูลมหาวิทยาลัยคู่สัญญาที่มีข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้ที่
ดูรายละเอียดได้ที่ http://oia.tu.ac.th/index.php?option=com_content&view=article&id=168&Itemid=242
4. โครงการนักศึกษาแลกเปลี่ยนจะประกาศรับสมัครเมื่อไร? จะเตรียมตัวอย่างไร ?
ดูได้จากปฏิทินการรับสมัครได้ที่ http://inter.tu.ac.th/index.php/calendar หรือสอบถามได้ที่งานส่งเสริมการแลกเปลี่ยนกับต่างประเทศ กองวิเทศสัมพันธ์ ตึกธรรมนที ชั้น 1 หรือโทร. 02-613 2046 -47
5. ถ้าไม่มีผลคะแนนทดสอบภาษาอังกฤษ (TOEFL, IELTS) แต่อยากไปแลกเปลี่ยนจะสมัครเข้าร่วมโครงการนักศึกษาแลกเปลี่ยนได้หรือไม่?
หากมาหวิทยาลัยคู่สัญญามีหลักสูตรภาษาอื่น เช่น ภาษาญี่ปุ่น ภาษาฝรั่งเศส ภาษารัสเซีย ภาษาจีน ฯลฯ สามารถใช้ผลคะแนนของภาษานั้นๆในการสมัครตามที่มหาวิทยาลัยคู่สัญญาแห่งนั้นกำหนด โดยต้องยื่นผลคะแนนทดสอบจากศูนย์สอบภาษานั้น หรือใช้เอกสารอื่นที่มหาวิทยาลัยคู่สัญญากำหนดไว้ได้ เช่น จดหมายรับรองจากอาจารย์ที่สอนภาษานั้นๆ
6. จะวางแผนเรื่องค่าใช้จ่ายอย่างไร แพงมากหรือเปล่า
การแบ่งค่าใช้จ่าย ควรแบ่งเป็นสองส่วน ดังนี้
ส่วนแรก - ค่าใช้จ่ายก่อนไปแลกเปลี่ยน เช่น ค่าเดินทางระหว่างประเทศ ค่าตรวจร่างกาย ค่าทำประกันสุขภาพ+อุบัติเหตุ ค่าหนังสือเดินทาง ค่า Visa
ส่วนที่สอง - ค่าใช้จ่ายในต่างประเทศ เช่น ค่าอาหาร ค่าที่พัก ค่าเดินทาง ค่าหนังสือ ค่าสันทนาการต่างๆ
7. อยู่ปี 4 แล้ว จะไปแลกเปลี่ยนได้หรือไม่
ทำได้แต่ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของคณะกรรมการฯ ทั้งนี้จะพิจารณาจากแผนการเรียน และเมื่อนักศึกษากลับจากแลกเปลี่ยนจะต้องลงทะเบียนเรียนอย่างน้อย 1 ภาคการศึกษา
8. ไปเรียนแลกเปลี่ยน1-2 ภาค (1ปีการศึกษา)แล้วจะกลับมาจบและรับปริญญาพร้อมเพื่อนหรือไม่
นักศึกษาต้องกลับมาลงทะเบียนที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์อีก 1 เทอม ส่วนจะได้รับปริญญาพร้อมเพื่อนหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับการวางแผนการเรียนก่อน เดินทางไปแลกเปลี่ยน
9. เป็นห่วงเรื่องเกียรตินิยม ถ้าเวลาเรียน+ไปแลกเปลี่ยนด้วยมากกว่า 4 ปีจะหมดสิทธิขอเกียรตินิยมหรือไม่
ไม่มีผลต่อเกียรตินิยม การไปแลกเปลี่ยนเป็นการนับเวลาเรียนต่อเนื่องเหมือนเรียนปกติที่มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์และไม่ต้องลาพักการศึกษาเพียงแต่ย้ายไปเรียนในต่างประเทศและนำ วิชากลับมาเทียบโอนได้
10. อยากไปแลกเปลี่ยน แต่ GPA ไม่ถึง 3 หมดสิทธิสมัครหรือเปล่า ??
บางโครงการ / บางประเทศ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กำหนดคุณสมบัติ GPA ไม่น้อยกว่า 2.8 สำหรับปริญญาตรี ซึ่งนักศึกษาสามารถสมัครได้แต่ทั้งนี้จะต้องมีผลคะแนนภาษาที่เป็นไปตามเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้ด้วย
Tha Prachan : Office of International Affairs Dhammanathee building 2 Pra Chan Rd., Pra Nakorn Bangkok 10200 THAILAND Rangsit Center : Office of International Affairs Visitaksorn Building (Social Sciences Building2) 99 Moo 18 Paholyothin Road, Klong Luang, Rangsit, Prathumthani 12121 Thailand |
General Inquiry : info.inter@tu.ac.th
Exchange Program : mobility@oia.tu.ac.th
|
MOU & Visit : collaboration@oia.tu.ac.th
Consortium/Short Program : issara.s@oia.tu.ac.th |
|
Tel : Exchange Program : (662) 613-2047 , 613-3023 MOU , Protocol & Visit : (662)613-3023 Fax. (662) 623-5289 |
|||
|